ประเพณีภาคใต้
-ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ประเพณีการแห่ผ้าผืนยาวขึ้นห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์
วัดพระมหาธาตุวรวิหารของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช
เป็นประเพณีที่พุทธศาสนิกชนนครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียงถือปฏิบัติสืบต่อกันมาหลายชั่วคน
ด้วยความเชื่อที่ว่าการห่มผ้ารอบองค์พระบรมธาตุ เปรียบกับได้การบูชาองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เดิมทีชาวนครศรีธรรมราชจะร่วมกันบริจาคเงินทองเพื่อซื้อผ้ามาเย็บเป็นผ้าผืนยาวเพื่อห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์
สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของชาวนครศรีธรรมราชที่มีต่อพระบรมธาตุเจดีย์ที่เป็นศูนย์กลางยึดเหนี่ยวจิตใจ
สำหรับกำหนดการแห่ผ้าขึ้นธาตุ
จัดขึ้นปีละ ๒ ครั้ง คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน๓ ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา
และวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หรือวันวิสาขบูชา
ขอขอบคุณรูปภาพจากhttp://ประเพณี.net/category/ประเพณีภาคกลาง/
- ชักพระ หลังจากวันปวารณาหรือวันออกพรรษา
๑ วัน ซึ่งจะตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑
ชาวพุทธจะพร้อมใจกันอาราธนาพระพุทธรูปที่เคารพสักการะในชุมชนออกแห่ไปตามลำน้ำหรือถนนเพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสกราบสักการะพระพุทธรูปนั้น
ส่วนจะแห่ทางน้ำหรือทางบกนั้น ขึ้นอยู่กับว่าชุมชนนั้นสะดวกเส้นทางใด หากเป็นทางถนนก็จะใช้ผู้คนในชุมชนมาช่วยกันลากจูง
หากเป็นทางน้ำก็จะใช้เรือพายพายลากจูงแทน
ขอขอบคุณรูปภาพจากhttp://ประเพณี.net/category/ประเพณีภาคกลาง/
-ประเพณีลอยเรือ สำหรับชาวเลหรือชาวบ้านที่ใช้ชีวิตตามชายฝั่งทะเล
เรือประมงที่ใช้ออกหาปลามีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเล
ชาวอูรักลาโวยหรือชาวเลในเขตจังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียงมีประเพณีเกี่ยวกับเรือที่เรียกว่า
ประเพณีลอยเรือ หรือพิธีลอยเรือในวันขึ้น ๑๓ –๑๕ ค่ำ เดือน
๖ และเดือน ๑๑ จัดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ให้กับคนในหมู่บ้าน ชุมชน
ขอขอบคุณรูปภาพจากhttp://ประเพณี.net/category/ประเพณีภาคกลาง/
-ประเพณีสารทไทยหรือประเพณีทำบุญเดือนสิบทางภาคใต้โดยเฉพาะที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
ถือว่าเป็นงานบุญใหญ่ประจำปีงานหนึ่งของชาวนครศรีธรรมราช
เนื่องจากเป็นเทศกาลที่ชาวนครศรีธรรมราช
จะเดินเข้าวัดทำบุญเพื่ออุทิศผลบุญให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ในวันแรม ๑๓ – ๑๕ ค่ำ
เดือนสิบ
ขอขอบคุณรูปภาพจากhttp://ประเพณี.net/category/ประเพณีภาคกลาง/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น