ประเพณีไทยภาคเหนือ

 

ประเพณีไทยภาคเหนือ

๑.ประเพณีไทยภาคเหนือ 
          
         - สงกรานต์งานประเพณี ถือเป็นช่วงแรกของการเริ่มต้นปี๋ใหม่เมือง หรือสงกรานต์งานประเพณี โดยแบ่งออกเป็น
          วันที่ ๑๓ เมษายน (วันสังขารล่อง)หรือจะเรียกว่าวันมหาสงกรานต์  ถือเป็นวันสิ้นสุดของปี  โดยจะมีการยิงปืน  ยิงสะโพก และจุดประทัดตั้งแต่ก่อนสว่างเพื่อขับไล่สิ่งไม่ดี  วันนี้ต้องเก็บกวาดบ้านเรือน และ ทำความสะอาดวัด           วันที่ ๑๔ เมษายน  หรือวันเนา ในวันนี้ตามวัดวาอารามต่างๆ จะมีการเตรียมงานทำบุญสงกรานต์ สำหรับตอนเช้าจะมีการจัดเตรียมอาหาร  และเครื่องไทยทาน  สำหรับงานบุญในวันรุ่งขึ้น  ตอนบ่ายจะไปขนทรายจากแม่น้ำเพื่อนำไปก่อเจดีย์ทรายในวัด  เป็นการทดแทนทรายที่เหยียบติดเท้าออกจากวัดตลอดทั้งปี และในวันนี้คนโบราณมีความเชื่อว่า ห้ามพูดจาไม่ดีต่อกัน ห้ามทะเลาะเบาะแว้ง เพราะจะทำให้โชคไม่ดีไปตลอดปี
         วันที่ ๑๕ เมษายน วันเถลิงศก หรือวันพญาวัน เป็นวันเริ่มศักราชใหม่ที่ผู้คนพากันเข้าวัดทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว มีการทำบุญถวายขันข้าว ถวายตุง  ไม้ค้ำโพธิ์ที่วัดสรงน้ำพระพุทธรูป พระธาตุและรดน้ำดำหัวขอพรจากผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ส่วนการละเล่นสาดน้ำของหนุ่มสาว ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญที่หนุ่มสาวจะได้พบปะกันพูดคุยกัน เกี้ยวพาราสีกันได้ด้วยการละเล่นสาดน้ำ
         วันที่ ๑๖-๑๗  เมษายน  หรือวันปากปีและวันปากเดือน  เป็นวันทำพิธีทางไสยศาสตร์  สะเดาะเคราะห์  และบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ทั้งนี้ ชาวล้านนามีความเชื่อว่า การทำพิธีสืบชะตาจะช่วยต่ออายุให้ตน เอง ญาติพี่น้อง และบ้านเมืองให้ยืนยาว ทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นสิริมงคล โดยแบ่งการสืบชะตาแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ การสืบชะตาคนการสืบชะตาบ้าน และการสืบชะตาเมือง
       
ขอขอบคุณรูปภาพจาก https://sukanyaae20.wordpress.com


          - แห่นางแมว  ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม เป็นช่วงของการเพาะปลูก หากปีใดฝนแล้งไม่มีน้ำ จะทำให้นาข้าวเสียหาย ชาวบ้านจึงพึ่งพาสิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น ทำพิธีขอฝนโดยการแห่นางแมว โดยมีความเชื่อกันว่าหากกระทำเช่นนั้นแล้วจะช่วยให้ฝนตก


 ขอขอบคุณรูปภาพจาก https://sukanyaae20.wordpress.com


              -ประเพณีปอยน้อย/บวชลูกแก้ว/แหล่ส่างลอง เป็นประเพณีบวช หรือการบรรพชาของชาวเหนือ นิยมจัดภายในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม หรือเมษายน ตอนช่วงเช้า ซึ่งเก็บเกี่ยวพืชผลเสร็จแล้ว ในพิธีบวชจะมีการจัดงานเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ มีการแห่งลูกแก้วหรือผู้บวชที่จะแต่งตัวอย่างสวยงามเลียนแบบเจ้าชายสิทธัตถะ เพราะถือคตินิยมว่าเจ้าชายสิทธัตถะได้เสด็ออกบวชจนตรัสรู้  และนิยมให้ลูกแก้วขี่ม้า  ขี่ช้าง  หรือขี่คอคน  เปรียบเหมือนม้ากัณฐกะม้าทรงของเจ้าชายสิทธัตถะ  ปัจจุบันประเพณีบวชลูกแก้วที่มีชื่อเสียง  คือ  ประเพณีบวชลูกแก้ว  ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ขอขอบคุณรูปภาพจาก https://sukanyaae20.wordpress.com


                  -ประเพณีปอยหลวง หรืองานบุญปอยหลวง เป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนาซึ่งเป็นผลดีต่อสภาพทางสังคม ถือว่าเป็นการให้ชาวบ้านได้มาทำบุญร่วมกัน ร่วมกันจัดงานทำให้เกิดความสามัคคีในการทำงาน งานทำบุญปอยหลวงยังเป็นการรวมญาติพี่น้องที่อยู่ต่างถิ่นได้มีโอกาสทำบุญร่วมกัน และมีการสืบทอดประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมาครั้งแต่บรรพชนไม่ให้สูญหายไปจากสังคม  ช่วงเวลาจัดงานเริ่มจากเดือน ๕ จนถึงเดือน  ๗ เหนือ (ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายนหรือเดือนพฤษภาคมของทุกปี) ระยะเวลา ๓-๗ วัน

ขอขอบคุณรูปภาพจาก https://sukanyaae20.wordpress.com


                     -ประเพณียี่เป็ง (วันเพ็ญเดือนยี่)ที่จัดขึ้นในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒  โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นภาพที่สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับนักท่องเที่ยวและจดจำประเพณียี่เป็งในแบบนั้น  โดยจะมีงาน “ตามผางผะติ้ป” (จุดประทีป) ซึ่งชาวภาคเหนือตอนล่างจะเรียกประเพณีนี้ว่า “พิธีจองเปรียง” หรือ “ลอยโขมด” เป็นงานที่ขึ้นชื่อที่จังหวัดสุโขทัย ประเพณียี่เป็งของชาวล้านนานั้นอยู่บนราก ฐานความเชื่อเดียวกับประเพณีลอยกระทงในภูมิภาคอื่น วัตถุประสงค์สำคัญคือ  ขอขมาแม่พระคงคา บูชาองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของ ชาวล้านนา การเฉลิมฉลองงานประเพณีลอยกระทงแบบล้านนานจะเป็นการประดับตกแต่งโคมตามบ้านเรือน จัดซุ้มประตูป่าหรือซุ้มประตูเข้าสู่ปรัมพิธีประกอบพิธีกรรมของหมู่บ้าน เข้าวัดทำบุญทำทาน ฟังเทศน์มหาชาติ

ขอขอบคุณรูปภาพจาก https://sukanyaae20.wordpress.com


                      -ประเพณีลอยกระทงสายหรือประทีปพันดวง ที่จังหวัดตาก ในเทศกาลเดียวกันด้วยในเดือน 3 หรือประมาณเดือนธันวาคม มีประเพณีตั้งธรรมหลวง (เทศน์มหาชาติ) และทอดผ้าป่า ในธันวาคมจะมีการเกี่ยว “ข้าวดอ” (คือข้าวสุกก่อนข้าวปี) พอถึงข้างแรมจึงจะมีการเกี่ยว “ข้าวปี

ขอขอบคุณรูปภาพจาก https://sukanyaae20.wordpress.com







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น