ประเพณีภาคกลาง


ประเพณีภาคกลาง


ประเพณีภาคกลาง
                    - ตักบาตรเทโว หมายถึงการทำบุญตักบาตร ปรารภเหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ในวันมหาปวารณา (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑) 
คำว่า เทโว เรียกกร่อนมาจากคำว่า เทโวโรหณะ (เทว+โอโรหณ) ซึ่งแปลว่า การลงจากเทวโลก
วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ชาวไทยพากันทำบุญตักบาตร  การทำบุญตักบาตรในวันนั้นจึงได้ชื่อว่า ตักบาตรเทโวโรหณะ ต่อมามีการเรียกกร่อนไปเหลือเพียง ตักบาตรเทโว เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันนั้น จึงนิยม ตักบาตรเทโว กันจนเป็นประเพณีสืบมาตราบเท่าทุกวันนี้

ขอขอบคุณรูปภาพจากhttp://ประเพณี.net/category/ประเพณีภาคกลาง/

                    - ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ ในวันสารทไทย วันแรม๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ชาวเพชรบูรณ์จะร่วมใจกันอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชา พระคู่บ้านคู่เมืองเพชรบูรณ์เข้าพิธีดำน้ำที่สืบทอดปฏิบัติกันต่อมาหลายรุ่นหลายสมัยจนกลายเป็นประเพณีอุ้มพระน้ำเป็นประจำทุกปี โดยมีพ่อเมืองเพชรบูรณ์หรือผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ทำหน้าที่อัญเชิญลงดำน้ำที่บริเวณท่าน้ำวัดโบสถ์ชนะมาร ด้วยเชื่อกันว่าการอุ้มพระดำน้ำจะทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ข้าวปลาอาหารจะสมบูรณ์ พืชผลทางการเกษตรจะงอกงามดี ให้ผลผลิตมาก
  
ขอขอบคุณรูปภาพจากhttp://ประเพณี.net/category/ประเพณีภาคกลาง/


                         -ประเพณีโยนบัวหรือรับบัว เป็นประเพณีของชาวบางพลีที่เริ่มต้นจาก “น้ำใจไมตรี” ที่หยิบยื่นให้กับชาวพระประแดงและชาวอำเภอเมืองสมุทรปราการผ่านการเก็บดอกบัวให้กัน ปีแล้วปีเล่าจนกลายเป็นประเพณีสำคัญของชาวบางพลีมาจนถึงทุกวันนี้  ตามความเชื่อของชาวพุทธ เชื่อกันว่าดอกบัวเป็นดอกไม้ที่เข้าไปมีบทบาทสำคัญอยู่หลายๆ ครั้งในพุทธประวัติ และยังเป็นดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์และความเป็นมงคล  ประกอบกับสมัยก่อนในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการนั้น มีดอกบัวขึ้นอยู่ตามลำคลองเป็นจำนวนมาก ชาวบางพลีจึงริเริ่มให้มีประเพณีโยนบัวหรือรับบัวขึ้นหนึ่งวันก่อนวันออกพรรษา

ขอขอบคุณรูปภาพจากhttp://ประเพณี.net/category/ประเพณีภาคกลาง/


                         -ลอยกระทง ในคืนวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 คืนที่พระจันทร์สว่างเต็มดวง สายน้ำหลากปริ่มตลิ่ง พร้อมกับแสงเทียนจากกระทงประดับดอกไม้ ธูปเทียนสว่างไสวอยู่ตามลำน้ำ เป็นช่วงเวลาของประเพณีสำคัญของสายน้ำอีกประเพณีหนึ่ง ประเพณีลอยกระทง เนื่องด้วยประเพณีลอยกระทงไม่ได้มีเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังแพร่หลายในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน ประเทศจีน ประเทศอินเดีย ประเทศลาว ประเทศกัมพูชา และประเทศพม่า คติความเชื่อ พิธีกรรมต่างๆ จึงแตกต่างกันไป

ขอขอบคุณรูปภาพจากhttp://ประเพณี.net/category/ประเพณีภาคกลาง/



                     -ประเพณีแห่เทียนพรรษา  ก่อนถึงวันเข้าพรรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ) พุทธศาสนิกชนชาวไทยจะถือโอกาสเข้าวัดทำบุญ ถวายเทียนพรรษา ตามวัดวาอารามต่างๆ  ถึงแม้ว่าปัจจุบันการถวายเทียนได้ถูกปรับเปลี่ยนให้มีความเหมาะสมกับเหตุการณ์ เป็นการถวายหลอดไฟฟ้าแทนแล้วก็ตาม การถวายเทียนพรรษาก็ยังคงอยู่คู่กับสังคมไทยในฐานะประเพณีแห่เทียนพรรษา

ขอขอบคุณรูปภาพจากhttp://ประเพณี.net/category/ประเพณีภาคกลาง/






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น