วัฒนธรรมด้านที่อยู่อาศัยสี่ภาค


วัฒนธรรมด้านที่อยู่อาศัยสี่ภาค


          ๑. ภาคกลาง ชุมชนบ้านเรือนในแถบภาคกลางเป็นสังคม เกษตรกรรม แถบพื้นที่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ ชาวบ้านในภาคกลางจึงผูกพัน และใช้ประโยชน์ต่างๆจากแม่น้ำ เนื่องจากภาคกลางมีภูมิอากาศที่ร้อนอบอ้าวเกือบจะร้อนตลอดทั้งปี คนจึงนิยมปลูกบ้านริมน้ำ ตัวบ้านสร้างขึ้นด้วยไม้เป็นเรือนชั้นเดียวแบบ เรียบง่าย มีการออกแบบให้ป้องกันความอบอ้าวของอากาศฝนและแสงแดด
           เรือนไทยภาคกลาง เป็นเรือนไทยประเภทที่นิยมที่สุด มีลักษณะเป็นเรือนยกพื้น ใต้ถุนสูง สูงจากพื้นดินเสมอศีรษะคนยืน รูปทรงล้มสอบ หลังคา ทรงสูงชายคายื่นยาว เพื่อกันฝนสาด แดดส่อง นิยมวางเรือนไปตามสภาพแวดล้อมทิศทางลมตามความเหมาะสม ถือเป็นแบบฉบับของเรือนไทยเดิมที่เราคุ้นเคยกันดี ในรูปแบบ เรือนถือเป็น เรือนไทยแท้ เรือนไทยฝาปะกน คือเรือนที่ฝาทำจากไม้สัก มีไม้ลูกตั้งและลูกนอน และมีแผ่นไม้บางเข้าลิ้นประกบกัน สนิท หน้าจั่วก็ทำด้วยวิธีเดียวกัน เราจะพบเห็นเรือนไทยภาคกลาง รูปแบบต่าง ๆ อาทิ เรือนเดี่ยว เรือนหมู่ เรือนหมู่คหบดี และ เรือนแพ

 อบขอบคุณรูปภาพจาก https://th.wikipedia.org/wiki/เรือนไทยภาคกลาง

         
          ๒. ภาคเหนือ ลักษณะภูมิอากาศทางภาคเหนือค่อนข้างหนาวเย็น พื้นที่ส่วนใหญ่โอบล้อมไปด้วยหุบเขา ทำให้บ้านเรือนไทยภาคเหนือถูกออกแบบให้มีลักษณะมิดชิดเพื่อกันลมหนาว ผสมผสานกับความเชื่อและวัฒนธรรมในท้องถิ่นเป็นตัวกำหนด ทำให้เกิดเป็นโครงสร้างสถาปัตยกรรมแบบง่ายๆ ใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เป็นสถาปัตยกรรมท้องถิ่นหรือพื้นบ้านตามแบบวัฒนธรรมล้านนา
          บ้านเรือน ในภาคเหนือ นิยมสร้างด้วยวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่นสอดคล้องกับวิถีชีวิต ตัวเรือนมีขนาดเล็กใต้ถุน สูง หลังคาทรงจั่ว ประดับยอดหลังคาด้วยไม้แกะสลักไขว้กัน เรียกว่า "กาแล" ชาวเหนือที่มีฐานะดีจะอยู่ เรือนที่ค่อนข้างมีขนาดใหญ่และประณีตมากขึ้น

        ขอบขอบคุณรูปภาพจาก student.nu.ac.th 


          ๓. ภาคอีสาน การตั้งบ้านเมืองในภูมิภาคอีสานตั้งแต่สมัยโบราณ มักเลือกทำเลที่ตั้งอยู่ตามที่ราบลุ่มแม่น้ำ การตั้งบ้านเรือนจะกระจุกรวมตัวกัน ชาวอีสาน มีความเชื่อในการสร้างเรือนให้ด้านกว้างหันไปทางทิศตะวันออกและตะวันตก ให้ด้านยาวหันไปทางทิศเหนือและใต้ซึ่งเป็นลักษณะที่เรียกว่าวางเรือนแบบ “ล่องตาเว็น” เชื่อว่าหากสร้างเรือน “ขวางตาเว็น” และจะ “ขะลำ” คือเป็นอัปมงคล ทำให้ผู้อยู่ไม่มีความสุข รูปแบบของเรือนไทยภาคอีสานเสายกพื้นค่อนข้างสูง ทำให้มีพื้นที่ใต้ถุนสูง ใช้เป็นที่ประกอบหัตถกรรมครัวเรือน

     ขอขอบคุณรูปภาพจาก Museum siam


               ๔. ภาคใต้ ภาคนี้มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี ซึ่งกลายเป็นอิทธิพลสำคัญต่อการกำหนดรูปแบบเรือนพักอาศัยของประชาชนในภาคใต้ ลักษณะเรือนพักอาศัยของชาวใต้นั้นมักจะเป็นเรือนไม้ยกพื้นสูง และเป็นเรือนแฝด และสามารถต่อขยายไปได้ตามลักษณะของครอบครัว มีชานเชื่อมต่อกัน ข้างฝาใช้ไม้กระดาน หรือไม้ไผ่สาน มุงหลังคาด้วยวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น บ้างก็เพิ่มหรือลดระดับขั้นเรือน เพื่อแยกกิจกรรมต่างๆออกจากกัน จึงทำให้เรือนไทยมุสลิมมีการเล่นระดับพื้น ใต้ถุนเรือนใช้เป็นที่พักผ่อน เก็บของ หรือประกอบอาชีพเสริม 

                                                                                                 
         ขอบขอบคุณรูปภาพจาก student.nu.ac.th 





ขออนุญาติเจ้าของคลิป
แหล่งที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=ruxHl4mY4yU


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น