วัฒนธรรมด้านอาหารไทยสี่ภาค

วัฒนธรรมด้านอาหารไทยสี่ภาค

        ๑. ภาคกลาง อาหารภาคกลาง เป็นประดิษฐ์กรรมทางวัฒนธรรมที่เกิดจากการผสมผสานวัฒนธรรมจากหลากหลายเชื้อ ชาติได้แก่ จีน อินเดีย ลาง เขมร พม่า เวียดนาม และประเทศจากชาติตะวันตกที่เข้ามานับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา อาหารภาคกลางจึงเป็นอาหารที่มีความหลากหลายทั้งในด้านการปรุง รสชาติ และการตกแต่งที่แปลกตา น่ารับประทาน มีความวิจิตรบรรจงประณีตที่ได้มาการถ่ายทอดวัฒนธรรมอาหารจากภายในวัง คนไทยภาคกลางกินข้าวเจ้าเป็นหลัก การรับประทานอาหารในแต่ละมื้อจะจัดเป็นสำรับ มีกับข้าวหลายอย่าง รสชาติอาหารภาคกลางนับได้ว่ามีความโดดเด่นเป็นพิเศษมากกว่าอาหารภาคอื่น
           
 ตัวอย่างอาหารภาคกลาง เช่น แกงเขียวหวาน  ห่อหมก  น้ำพริกลงเรือ  กุ้งทอดผัดพริกแกงแห้ง 
ไข่ชะอมทอด  แกงคั่วสับปะรดหม




                                                                                                  วิธีการทำแกงเขียวหวาน                                                                    
ขออนุญาตเจ้าของคลิป
แหล่งที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=zJklQaBNx70


               ๒. ภาคเหนือ อาหารจะประกอบด้วยข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก มีน้ำพริกชนิดต่าง ๆ  สภาพอากาศก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้อาหารพื้นบ้านภาคเหนือแตกต่างจากภาคอื่น นั่นคือ การที่อากาศหนาวเย็นเป็นเหตุผลให้อาหารส่วนใหญ่มีไขมันมาก เช่น น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล ไส้อั่ว เพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่น
  ตัวอย่างอาหารภาคเหนือ เช่น  แกงฮังเล  น้ำพริกอ่อง ข้าวซอย  น้ำพริกหนุ่ม  ขนมจีนน้ำเงี้ยว

                                              วิธีการทำแกงฮังเล                                                                  
ขออนุญาตเจ้าของคลิป
แหล่งที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=YU3MXGQ2bIM



               ๓. ภาคอีสาน คนภาคอีสานเป็นผู้ที่กินอาหารได้ง่าย มักรับประทานได้ทุกอย่าง เนื่องจากภาคอีสาน มีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่แห้งแล้ง เป็นที่ราบสูง มีแม่น้ำสายใหญ่ และมีเทือกเขาสูงในบางแห่ง ขาดความอุดมสมบูรณ์กว่าภาคอื่นๆ เพื่อการดำรงอยู่ของชีวิตในการปรับตัวให้สอดคล้องกับ ธรรมชาติ คนภาคอีสานจึงรู้จักแสวงหาสิ่งต่างๆ ที่รับประทานได้ในท้องถิ่น นำมาดัดแปลงรับประทาน หรือประกอบเป็นอาหารทั้งพืชผักจากป่าธรรมชาติ ปลาจากลำน้ำ และแมลงต่างๆ หลายชนิด
อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนมากจะมีรสเผ็ด เค็ม เปรี้ยว คนอีสานจะรับประทานข้าวเหนียว กับอาหารพื้นบ้านที่มีรสจัดและน้ำน้อย 
 ตัวอย่างอาหารภาคอีสาน เช่น ส้มตำ ลาบ ก้อย  ซุปหน่อไม้ 

วิธีการทำลาบหมู
ขออนุญาตเจ้าของคลิป
แหล่งที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=6PHLtctOnr8


       ๔. ภาคใต้  อาหารพื้นบ้านภาคใต้มีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ สืบเนื่องจากดินแดนภาคใต้เคยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย จีนและชวาในอดีต ทำให้วัฒนธรรมของชาวต่างชาติโดยเฉพาะอินเดียใต้ ซึ่งเป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องเทศปรุงอาหารได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมาก อาหารพื้นบ้านภาคใต้ทั่วไป มีลักษณะผสมผสานระหว่างอาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้  อาหารของภาคใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่น ๆ และด้วยสภาพภูมิศาสตร์อยู่ติดทะเลทั้งสองด้านมีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ แต่สภาพอากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้มจึงมีรสจัด ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันการเจ็บป่วยได้
ตัวอย่างอาหารภาคใต้ เช่น  แกงไตปลา  แกงส้ม  น้ำบูดู  คั่วกลิ้ง ผัดสะตอกุ้งสด 

วิธีทำผัดสะตอกุ้งสด 
ขออนุญาตเจ้าของคลิป
แหล่งที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=ccwnT05y5pk





1 ความคิดเห็น: